ความหมายคำว่าลีซู ลีซูได้ชื่อว่าเป็นเผ่าที่แต่งกายมีสีสรรสดใส และหลากสีมากที่สุดในบรรดาชาวเขาทั้งหมด ความกล้าในการตัดสินใจ และความเป็นอิสระชนสะท้อนออกมาให้เห็น จากการใช้สีตัดกันอย่างรุนแรงในการเครื่องแต่งกาย คนอื่นเรียกว่าลีซอ แต่เรียกตนเองว่า “ลีซู” (คำว่า “ลี” มาจาก “อิ๊หลี่” แปลว่า จารีต ประเพณีหรือวัฒนธรรม “ซู” แปลว่า “คน”) มีความหมายว่ากลุ่มชนที่มีขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี และความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง หากมองในแง่วัฒนธรรมและบุคลิกภาพแล้ว อาจกล่าวได้ว่าชาวลีซู เป็นกลุ่มชนที่รักอิสระ มีระบบจัดการความสัมพันธ์ทางสังคมที่ยืดหยุ่น เป็นนักจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะไม่ยอมรับสิ่งใหม่โดยไม่ผ่านการเลือกสรร และจะไม่ปฏิเสธวัฒนธรรมที่แตกต่างโดยไม่แยกแยะ ด้วยเหตุนี้เองทำให้ชาวลีซูมีศักยภาพในการปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงได้เป็นอย่างดี
ความเป็นมา ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง
ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูล จากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) องค์กรชาวบ้านของลีซูในอดีต และในปัจจุบัน ฆว่าทูว์ (ผู้นำชุมชน) ตำแหน่งนี้จะถูกคัดเลือกและแต่งตั้งโดยชาวบ้าน มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งนี้จะถูกกำหนดหรือแต่งตั้งโดย "อาปาโหม่"ต้องผ่านตามพิธีเสี่ยงทายก่อนและแต่ละชุมชนมีมือหมือได้เพียงคนเดียว ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม และเป็นตัวกลางระหว่างเทพพิทักษ์ในหมู่บ้าน และทำหน้าที่ประกาศในวันสำคัญ ๆ หนี่ผะ (หมอผี) เป็นบุคคลที่คัดเลือก และกำหนดโดยวิญญาณบรรพบุรุษของตระกูล ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของผี โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) บุคคลที่มีอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของลูกบ้าน ในปัจจุบัน ฆว่าทูว์ (ผุ้นำชุมชน) เป็นผู้ใหญ่บ้านทางการ มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งการถูกแต่งตั้งยังเหมือนเดิม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1-2 คน โดย"ฆว่าทูว์" เป็นผู้แต่งตั้ง อบต ทางการชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่บริหารหมู่บ้าน และดึงงบประมาณ คณะกรรมการในหมู่บ้าน ที่ปรึกษา โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่พิธีกรรมต่าง ๆ สำหรับองค์กรชาวบ้านลีซู (องค์กรชนเผ่า) ในอดีตนั้นไม่ค่อยชัด แต่จะเด่นในการรวมกลุ่มเครือญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ระหว่างชุมชนลีซู มีบทบาทมากในสังคมลีซูในอดีต ในปัจจุบันกลุ่มเครือญาติยังคงมีการรวมกลุ่มที่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเครือญาติ
ความเป็นมา ลีซู หมายถึง ผู้ใฝ่รู้แห่งชีวิต มีภาษาพูดในกลุ่มหยี (โลโล) ตระกูลธิเบต-พม่า 30% เป็นภาษาจีนฮ่อ ต้นกำเนิดของลีซูอยู่ที่ต้นน้ำสาละวิน และแม่น้ำโขงทางตอนเหนือของธิเบต และทางตะวันตกเฉียงเหนือ ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชาวลีซูได้อพยพเข้าสู่เขตประเทศไทย เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 กลุ่มแรกมี 4 ครอบครัว มาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนครั้งแรกอยู่ที่บ้านห้วยส้าน อ.เมือง จ.เชียงราย ต่อมามีอีก 15 ครอบครัวอพยพตามมาด้วยในปีเดียวกัน ลีซูไม่มีภาษาเขียนของตนเอง แต่สำหรับลีซูที่นับถือเป็นคริสเตียน กลุ่มมิชชั่นนารีได้ใช้อักษรโรมันมาดัดแปลงเป็นภาษาเขียนของชนเผ่าลีซู อยู่ได้โดยประมาณ 5-6 ปี ก็มีการแยกกลุ่มไปอยู่หมู่บ้านดอยช้าง ทำมาหากินอยู่แถบ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
ลีซูแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ลีซูลาย กับลีซูดำ ชาวลีซูที่อยู่ในประเทศไทยเกือบทั้งหมดเป็นลีซูลาย ส่วนลีซูดำ จะอยู่ในประเทศจีน พม่า อินเดีย และไทย ในประเทศไทยมีชุมชนลีซูอาศัยอยู่9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สุโขทัย และลำปาง
ตระกูลดั้งเดิมของชาวลีซูเดิมมี 6 กลุ่ม คือ น้ำผึ้ง (เบี่ยซือวี) ไม้ (ซือผ่า) ปลา (งัวะผ่า) หมี แมลงข้าว สาลี และกัญชง ตระกูลน้ำผึ้งใหญที่สุด แตกออกเป็นอีก 3 กลุ่มย่อย มีอยู่ 9 สายตระกูล จากการแต่งงานข้ามเผ่ากับชาวจีนฮ่อ เช่น ลี ย่าง ว่าง เหยา วู เขา โฮ จู และจ้าง ในกลุ่มนี้ ย่าง และลีเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด ชาวลีซูนับถือบรรพบุรุษและบูชาเทพเจ้าโดยมีผู้นำสองคน คือ ผู้นำทางด้านวัฒนธรรม (มือหมือผะ) และ ผู้ประกอบพิธีกรรม (หนี่ผะ) องค์กรชาวบ้านของลีซูในอดีต และในปัจจุบัน ฆว่าทูว์ (ผู้นำชุมชน) ตำแหน่งนี้จะถูกคัดเลือกและแต่งตั้งโดยชาวบ้าน มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งนี้จะถูกกำหนดหรือแต่งตั้งโดย "อาปาโหม่"ต้องผ่านตามพิธีเสี่ยงทายก่อนและแต่ละชุมชนมีมือหมือได้เพียงคนเดียว ทำหน้าที่ด้านพิธีกรรม และเป็นตัวกลางระหว่างเทพพิทักษ์ในหมู่บ้าน และทำหน้าที่ประกาศในวันสำคัญ ๆ หนี่ผะ (หมอผี) เป็นบุคคลที่คัดเลือก และกำหนดโดยวิญญาณบรรพบุรุษของตระกูล ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างโลกมนุษย์กับโลกของผี โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) บุคคลที่มีอายุ และเป็นที่เคารพนับถือของลูกบ้าน ในปัจจุบัน ฆว่าทูว์ (ผุ้นำชุมชน) เป็นผู้ใหญ่บ้านทางการ มือหมือผะ (ผู้นำด้านพิธีกรรม) ตำแหน่งการถูกแต่งตั้งยังเหมือนเดิม ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 1-2 คน โดย"ฆว่าทูว์" เป็นผู้แต่งตั้ง อบต ทางการชุมชนเป็นผู้แต่งตั้ง ทำหน้าที่บริหารหมู่บ้าน และดึงงบประมาณ คณะกรรมการในหมู่บ้าน ที่ปรึกษา โชโหม่วโชตี (ผู้อาวุโส) หนี่ผะ (หมอผี) ทำหน้าที่พิธีกรรมต่าง ๆ สำหรับองค์กรชาวบ้านลีซู (องค์กรชนเผ่า) ในอดีตนั้นไม่ค่อยชัด แต่จะเด่นในการรวมกลุ่มเครือญาติในตระกูลเดียวกัน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ระหว่างชุมชนลีซู มีบทบาทมากในสังคมลีซูในอดีต ในปัจจุบันกลุ่มเครือญาติยังคงมีการรวมกลุ่มที่ทำพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งเครือญาติ